AIP คือ กระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด เพื่อการกำหนดนโยบายที่นำไปปฏิบัติได้จริง เป็นตัวช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Big Data แทนสมองของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอแนวทางหรือแผนงานได้หลากหลาย ทันสถานการณ์ มีความสมดุล และถูกต้องแม่นยำ
การจะขับเคลื่อนแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และสร้างความเป็นธรรมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคลนั้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลที่ถือได้ว่าเป็น Big Data ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการคิด ประมวลผล และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการและขับเคลื่อนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
การดำเนินการแบบ Intelligence นี้ สามารถใช้เสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิม ๆ ที่ปฏิบัติมานานหลายสิบปี.... เครื่องมือที่ว่านี้คือ Actionable Intelligence Policy Platform หรือ AIP Platform ที่จะช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลแทนสมองของมนุษย์ ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพความเชื่อมโยงของปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ มีความสมดุล และความถูกต้อง ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา นำไปสู่ทางเลือกการตัดสินใจที่ดีที่สุดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเราจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามก็ได้ เพราะการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่มนุษย์
นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถบอกได้อีกว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น หน่วยงานใดบ้างต้องร่วมกันดำเนินการ มีแนวทางดำเนินการอย่างไร ใช้ทรัพยากรเช่นกำลังคนหรืองบประมาณเท่าไร นอกจากนี้ ระบบยังรองรับการติดตามผลการดำเนินการ เพื่อทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติได้อย่างสูงสุด
หน้าที่หลักสำคัญของ Actionable Intelligence Policy Platform : AIP คือ ช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Big Data แทนสมองของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอแนวทางหรือแผนงานได้หลากหลาย ทันสถานการณ์ มีความสมดุล และถูกต้องแม่นยำ
ยกตัวอย่างเมื่อนำ AIP เข้ามามีส่วนร่วม เช่น ถ้าหากผมจะทำท่าเรือ ผมจะให้ความสำคัญกับการลงทุนเป็นหลักว่าลงทุนไปแล้วจะคุ้มค่าไหม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
แล้วมีใครบ้างที่จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ หรือจะต้องมีอะไรในพื้นที่โดยรอบเพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น อาจจะต้องมีการสร้างห้างสรรพสินค้า หรือโรงพยาบาล หรือสวนสาธารณะเพิ่มเติมในพื้นที่หรือไม่ หรืออาจจะต้องมีที่อยู่อาศัย และโรงเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมีท่าเรือจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีครอบครัว ดังนั้น การมีสิ่งสาธาณูปโภครองรับ จึงเป็นการเสนอทางเลือกเพื่อการตัดสินใจให้กับเจ้าของโครงการได้ว่าจะทำหรือไม่ทำ เป็นต้น
ที่ผ่านมา การพัฒนาอาจให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป เพราะต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว จึงทำให้เกิดความ แตกต่างและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราต้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงฯ ด้วยความที่ EEC เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มากกว่าหลายเท่า ทำให้หน่วยงานจำนวนมากต้องปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งไม่มีทางที่จะวิเคราะห์ข้อมูลแผนงาน โครงการได้ทั้งหมด
ดังนั้น การขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ ในพื้นที่ EEC ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และเท่าเทียมกันทั้งใน ระดับประเทศ ระดับพื้นที่และระดับบุคคล ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนโยบาย และเพื่อเสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิมๆ
น่าน เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ประสพปัญหาทางด้านทรัพยกรป่าไม้ และที่ดินทำกิน ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ จนทำให้เกิดการบุกรุกป่าทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังทำให้ก่อเกิดหนี้สินจากการลงทุนทำการเกษตร จนนำไปสู่รายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานั้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีแบบแผน และมีประสิทธิภาพร่วมกัน
ดังนั้น การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีแบบแผน และมีประสิทธิภาพร่วมกัน จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างทางเลือก อย่าง AIP เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างงาน สร้างรายได้ อย่างทันท่วงที ในจังหวัดน่าน
ซึ่ง อว. โดยจิสด้า กำลังดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการธีออส 2 ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างดาวเทียม แต่เป็นการสร้างคุณค่าจากข้อมูลดาวเทียมของไทย รวมถึงสร้างคุณค่าจาก Big Data ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจาก Sensor จาก Smart Phone ดังนั้น AIP จึงเป็น Platform ที่มีความ Intelligence นำ Big Data เหล่านี้ มาตอบโจทย์ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประเทศนั่นเอง
GISTDA ใช้ศาสตร์ 5 M เป็นระเบียบวิธีในการดำเนินงาน ของ AIP เพื่อยกระดับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการให้กับประเทศ ตอบสนองการสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ โดยการ Mapping ทำข้อมูลเชิงพื้นที่ -> Monitoring ติดตามการเปลี่ยนแปลง -> Modeling ทำแบบจำลองเพื่อการคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคต -> Measurement การวัดผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อเลือกการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด -> Management การบริหารจัดการ ซึ่งจุดเน้นคือการ Management ได้มีการนำเอาส่วน“ความคิดเห็นของพึงพอใจ”ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับที่มีต่อ“นโยบาย”ระดับประเทศเพื่อการวิเคราะห์ว่าการดำเนินนโยบายนั้นมีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร เป็นประโยชน์และสามารถปฏิบัติได้จริง
ระบบที่จะมาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้นในเรื่องของการคำนวนต่างๆ อาทิ เรื่องของบัญชี ตลาดหุ้น การวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงในเรื่องของภูมิสารสนเทศ อย่างเช่นการแปลผลภาพถ่ายดาวเทียมอัตโนมัติ.... การที่องค์กรต่างๆ นำระบบ Intelligence มาใช้เยอะขึ้นเพื่อทดแทนในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก (ฺBig Data) ได้ในเวลารวดเร็วและสั้นเหมือนกับระบบ Intelligence ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากสถิติและแนวโน้มเพื่อได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างเช่นเรื่องการพัฒนาการขยายตัวของเมืองและชุมชน การบริหารจัดการน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ โดย GISTDA ได้นำระบบ Intelligence มาใช้ใน AIP เพื่อการคิดวิเคราะห์ Big Data บริหารจัดการเพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่ที่มีผลมาจากการจำลองการดำเนินนโยบาย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดและเร็วที่สุดกับพื้นที่การดำเนินงาน
เมื่อเราต้องการรู้อะไรบางอย่าง เราทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ป่าในประเทศไทยเหลือเท่าไร มีจำนวนประชาชนเท่าไรที่อยู่ในเขตป่าสงวน โรงงานอุตสาหกรรมีกี่โรงงานในชลบุรี ประชาชนกี่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกดึงขึ้นมาแสดงให้เราเห็นใน AIP เมื่อเราทำการดึงข้อมูลจากหน่วยงานพันธมิตร จากการแปลผลภาพถ่ายดาวเทียมอัตโนมัติ นั่นแหละคือการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเชื่อมโยงและนำมาแสดงให้ผู้ใช้งานได้ดู ข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก จะถูกสำรวจและจัดเก็บตามหมวดหมู่ และจะถูกเรียกใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้นหรือค้นหา ระบบจะจำว่า ข้อมูลใดอยู่ที่ใด จากหลากหลายแหล่งประกอบกัน ดังนั้น การที่เรามีข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการในองค์รวมได้ โดยนำระบบ Intelligence มาช่วยคำนวณ สร้างการตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินงานอย่างไรกับพื้นที่ เพืื่อสร้างความสมดุลที่สุด เหมาะสมที่สุด ในเรื่องของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มภารกิจพิเศษด้านพัฒนาการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ | โทร.021414593 | อีเมล marketing@gistda.or.th |
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.